Enhance Skills, Learn More – Anytime, Anywhere.

หลักสูตร และการศึกษาต่อ

นวัตกรรมการผลิตมาริโมะสายพันธุ์ไทยจากสาหร่ายน้ำจืดขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์

คำอธิบายรายวิชา

🎓 รูปแบบการฝึกอบรม

  • การบรรยายเชิงวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการผลิตมาริโมะสายพันธุ์ไทย

  • การฝึกปฏิบัติจริงครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะเลี้ยง การสร้างระบบนิเวศ ไปจนถึงการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

📌 เหมาะสำหรับ:

ผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงสาหร่าย นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรเมือง หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมชีวภาพในเชิงพาณิชย์

📅 วันอบรม: 19 กรกฎาคม 2568

📍 สถานที่: อาคาร 60 ห้อง 60203 ห้องปฏิบัติการการจัดการเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

👥 รับจำนวนจำกัด: เพียง 20 คนเท่านั้น

💰 ค่าลงทะเบียน: 500 บาท (รวมค่าอบรมและอาหาร)

✅ เปิดรับสมัครแล้ว: ตั้งแต่วันนี้ – 18 กรกฎาคม 2568

กำหนดการ

เปิดสมัคร

✅ ระยะเวลาการรับสมัคร:

  • เปิดรับสมัคร: 19 มิถุนายน 2568 เวลา 08:30 น.
  • ปิดรับสมัคร: 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 23:59 น.
  • กำหนดชำระค่าสมัคร: ภายใน 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 23:59 น.

📌 หมายเหตุ: โปรดชำระค่าสมัครก่อนเวลาปิดรับสมัครเพื่อยืนยันสิทธิ์ในการเข้าร่วมหลักสูตร

ช่วงเวลาเรียน

📅 วันอบรม: 19 กรกฎาคม 2568
📍 สถานที่: อาคาร 60 ห้อง 60203 ห้องปฏิบัติการการจัดการเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

หลักสูตร

หลักสูตรฝึกอบรม

ประเภทหลักสูตร
ไม่สะสมหน่วยกิต
จำนวนรับ 20
ค่าธรรมเนียม 500 บาท
เวลาที่เรียน/ชม.
6
ประเภทการเรียน
ในสถานที่

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1) เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติทางด้านการผลิตสาหร่ายมาริโมะสายพันธุ์ไทยและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ

2) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการขึ้นรูปมาริโมะเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ สำหรับใช้ตกแต่งตู้ปลา

เนื้อหาหลักสูตร

🗓️ เนื้อหาและกำหนดการของหลักสูตร

หัวข้ออบรม: นวัตกรรมการผลิตมาริโมะสายพันธุ์ไทยจากสาหร่ายน้ำจืดขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์
วันอบรม: 19 กรกฎาคม 2568
สถานที่: อาคาร 60 ห้อง 60203
ห้องปฏิบัติการการจัดการเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่


เวลา กิจกรรม
08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
08.45 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรม โดย ผศ. นราศักดิ์ บุญมี ประธานสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่
09.00 – 10.30 น. กิจกรรม: รู้จักสาหร่ายไกสกุลต่างๆ การจำแนกสกุล การเก็บตัวอย่าง การเก็บรักษาในรูปแบบเซลล์ระยะพักตัว (akinete) การเพาะเลี้ยง และการใช้ประโยชน์
10.30 – 12.00 น. กิจกรรมภาคสนาม: ศึกษาสาหร่ายไกในธรรมชาติ การเก็บตัวอย่าง การดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการเก็บรักษาในรูปแบบ akinete
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. กิจกรรมปฏิบัติการ: ขึ้นรูปไกมาริโมะ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบหยด แบบก้อน และแบบเคลือบผิว
14.30 – 16.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์: ตกแต่งระบบนิเวศสนามหญ้าจำลองจากสาหร่ายไกในขวดแฟนซีจิ๋ว เพื่อนำกลับไปดูแลที่บ้าน
16.00 น. ปิดกิจกรรมการอบรม

 


📝 หมายเหตุ

  1. มีบริการอาหารว่าง 2 รอบ เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.

  2. ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้รับ "ไกมาริโมะในขวดสวยเก๋" กลับไปเลี้ยงที่บ้าน

  3. กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

📊 เกณฑ์การวัดและประเมินผลของหลักสูตร

ที่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLO) วิธีการประเมิน เครื่องมือประเมิน คะแนนเต็ม เกณฑ์การผ่าน
1 PLO 1: อธิบายกระบวนการผลิตมาริโมะได้ การประเมินสมรรถนะโดย Bar Scale แบบทดสอบ (Testing) 20 16
2 PLO 2: ขึ้นรูปและเพาะเลี้ยงมาริโมะ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ การสังเกต (Observation) แบบประเมินการสังเกตแบบการเล่าเรื่อง (Narratives) 10 5
3 PLO 3: สังเกต วิเคราะห์ และสังเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตมาริโมะให้สวยงามได้ การประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) แบบสอบถามเพื่อประเมินตนเอง (Self-Assessment Questionnaire) 20 16

 

คะแนนรวม: 50 | เกณฑ์ผ่านรวม: 37 |

เกี่ยวกับรายวิชา

ผศ.ดร. ราเมศ จุ้ยจุลเจิม 
E-mail: ramet.pnru742@hotmail.com
เบอร์โทรศัพท์ 0922585415

 

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร