หลักสูตร และการศึกษาต่อ
ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ (Spa Manager)
คำอธิบายรายวิชา
🏥 ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ (Spa Manager) 100 ชั่วโมง
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการธุรกิจสปาและสุขภาพองค์รวม เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเข้าสู่สายงานด้านสปามืออาชีพหรือเพิ่มมาตรฐานการให้บริการในธุรกิจสุขภาพ ผู้เรียนจะได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้บริการสปา การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แผนไทย การบริหารจัดการธุรกิจ และการพัฒนาทักษะการสื่อสารในอุตสาหกรรมสปา นอกจากนี้ หลักสูตรยังรวมถึงการศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการกิจการสปา
📌 เหมาะสำหรับ: บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการด้านสปา และผู้สนใจในธุรกิจสุขภาพ
📅 รูปแบบการเรียน: Onsite 100 ชั่วโมง (ภาคทฤษฎี + ปฏิบัติ)
🎓 ใบรับรอง: มีประกาศนียบัตรเมื่อสำเร็จหลักสูตร
✅ เปิดรับสมัครแล้ว! ตั้งแต่วันนี้ - 10 เมษายน 2568 🚨
📍 ลงทะเบียนได้ที่ 🖱 https://forms.gle/pWNYbM3KyBHbctqr8
💰 ค่าลงทะเบียน: 12,000 บาท (รวมค่าอบรมและอาหาร)
กำหนดการ
🎉 เปิดรับสมัครแล้ว! หลักสูตรผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ (Spa Manager)
✅ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 10 เมษายน 2568
🚨ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/pWNYbM3KyBHbctqr8
🗓 21 เมษายน – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
⏰️ เวลา 9:00 - 17:00 น.
หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรฝึกอบรม และหลักสูตรประกาศนียบัตร สำหรับการจัดการศึกษาในระบบคลังหน่วยกิต ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตร ตามเงื่อนไขที่กำหนดของหลักสูตรฯ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
🎯 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes - PLOs)
✅ PLO 1: สามารถให้บริการสปา บริหารงานสปา และกำหนด โครงสร้างงานสปา ได้อย่างเป็นระบบ
✅ PLO 2: ประยุกต์องค์ความรู้ และ ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสปาและสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
📌 หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะและมาตรฐานการให้บริการในธุรกิจสปา ✨
เนื้อหาหลักสูตร
📚 รายละเอียดการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตร
หัวข้อ/เนื้อหาที่สอน |
ทฤษฎี (ชั่วโมง) |
ปฏิบัติ (ชั่วโมง) |
ศึกษาด้วยตนเอง (ชั่วโมง) |
---|---|---|---|
หมวดวิชาความรู้พื้นฐาน |
|
|
|
ความรู้ทั่วไปเรื่องสปา |
1 |
- |
1 |
สุขภาพองค์รวม |
5 |
- |
5 |
จิตวิทยาเพื่อการดำเนินงานสปา |
2 |
- |
2 |
การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้ดำเนินการสปา |
3 |
- |
3 |
สุขภาพ สุขอนามัย และสุขภาวะสุขภาพดี |
3 |
- |
3 |
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
2 |
2 |
4 |
หมวดวิชาความรู้เฉพาะ |
|
|
|
การบริการเพื่อสุขภาพและการนวดเพื่อสุขภาพ |
5 |
4 |
9 |
การใช้น้ำและอุณหภูมิเพื่อสุขภาพ (วารีบำบัด) |
3 |
- |
3 |
สุคนธบำบัด |
3 |
5 |
8 |
การดูแลผิวหนัง ผิวหน้าและผิวกาย |
5 |
4 |
9 |
การดูแลความงามของเส้นผม มือ เท้า เล็บมือ และเล็บเท้า |
3 |
- |
3 |
การกำจัดขน |
2 |
- |
2 |
อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ |
2 |
- |
2 |
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ |
1 |
- |
1 |
เอกลักษณ์สปาและการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย |
2 |
3 |
5 |
การประยุกต์วิถีไทยและวัฒนธรรมในธุรกิจสปา |
2 |
- |
2 |
สมุนไพรไทยที่ใช้ในสปา |
2 |
2 |
4 |
การบริหารจัดการสปาและกฎหมายและจรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพ |
4 |
- |
4 |
การจัดการธุรกิจบริการสุขภาพ |
|
|
|
การวางแผนการเงินและงบประมาณ |
3 |
3 |
6 |
การบริหารบุคคลและทรัพยากร |
3 |
- |
3 |
การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินผล |
2 |
- |
2 |
การพัฒนาและการออกแบบเมนูสปา |
2 |
- |
2 |
การวางแผนการตลาดและบริหารตราสินค้า |
3 |
- |
3 |
การจัดทำคู่มือมาตรฐานการจัดการ |
2 |
- |
2 |
ทักษะการสื่อสารในธุรกิจสปา |
3 |
3 |
6 |
หมวดวิชาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสปา |
|
|
|
ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสปา |
2 |
- |
2 |
หมวดฝึก |
|
|
|
ศึกษาดูงานในสถานประกอบการสปา |
- |
4 |
4 |
รวม |
70 |
30 |
100 |
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
📊 การวัดและประเมินผลของผลลัพธ์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes - PLOs)
ที่ |
PLO |
วิธีการประเมิน |
เครื่องมือประเมิน |
คะแนนเต็ม |
เกณฑ์การผ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 |
PLO 1: สามารถให้บริการสปา บริหารงานสปา และกำหนดโครงสร้างงานสปา |
วิธีการประเมินสมรรถนะโดย Bar Scale |
- แบบทดสอบ (Testing) |
30 |
24 |
2 |
PLO 2: ประยุกต์องค์ความรู้ และภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสปาและสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
การประเมินภาคปฏิบัติ (Performance assessment) |
แบบสอบถามเพื่อประเมินตนเอง (Self-assessment questionnaire) |
20 |
16 |
คะแนนรวม |
|
|
|
50 |
40 |